0

รู้จักเกาะกูด

รู้จักเกาะกูด


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ขอบคุณภาพ : Suphan.biz

 
เกาะกูด ปรากฏชื่ออยู่ในจารึกของจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ดังปรากฏในหนังสือ "เจิ้งเหอหางไห่ถู" เป็นหนังสือประเภทการเดินเรือของท่านเจิ้งเหอ ผู้เขียนเป็นคนในสมัยราชวงศ์หมิง ในแผนที่เบอร์ 13 กล่าวถึง "เสี่ยวซื่อหลาน" บันทึกไว้ว่า "เสี่ยวซื่อหลานนี้อยู่ทางทิศเหนือของอ่าวไทย" หรือว่าหมายถึง Koh Tao Mo ที่อยู่ทางฝั่งใต้ของสัตหีบ บ้างว่าหมายถึง เกาะกูด

ขอบคุณภาพ FB : Dr.Winai Dahlan

ในขณะที่ หนังสือกว่างจี้ เป็นหนังสือบันทึกเรื่องราวชาวป่าเถื่อน 4 เผ่า กล่าวถึงเซียนจี๋ซาน บันทึกไว้ว่าเซียนจี๋ซานนี้ หมายถึง เกาะกูด หรือ เกาะหมากของไทยในปัจจุบัน และเจี่ยวกู่หวี่ บันทึกไว้ว่าเจี่ยวกู่หวี่นี้ อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวไทยในปัจจุบัน อันหมายถึง เกาะกูด ของไทย

ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ชาวฮอลันดาได้จัดทำแผนที่ราชอาณาจักรไทยและประเทศที่อยู่โดยรอบ ปรากฏชื่อเกาะที่อยู่บริเวณที่ตั้งของเกาะช้างว่า Macora และตำแหน่งบริเวณเกาะกูดว่า Pealan

เกาะกูด ปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในเอกสารประวัติศาสตร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ปีพุทธศักราช 2325 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ตั้งกรุงเทพมหานคร

องค์เชียงสือและครอบครัว ได้หลบหนีกองทัพขององค์ไกเซิน เจ้าเมืองกุยเยิน ที่ยกมาตีเมืองไซ่ง่อน เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปีจุลศักราช 1148 (พ.ศ. 2339) องค์เชียงสือคิดจะกอบกู้บ้านเมืองคืน ครั้นจะกราบทูลลาไป ก็เกรงพระราชอาญาด้วยการศึกพม่ายังรบพุ่งติดพันกันอยู่ จึงเขียนหนังสือกราบถวายบังคมแล้วหนีออกมาพร้อมด้วยองค์ญวนอีกหลายคน ครั้นหนีมาแล้ว จึงปรึกษากันว่าจะไปพักที่ใด องค์จองจึงว่าไปพักที่เกาะกูดเมืองตราด ในเวลานั้นบนเกาะกูดมีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากเท่าใดนัก องค์เชียงสือพำนักอยู่ที่เกาะกูดเป็นเวลา 1 ปี บริเวณที่องค์เชียงสือพำนักอยู่ก็คือบริเวณ "น้ำตกคลองเจ้า" ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อ "น้ำตกคลองเจ้า" น้ำตกอันเลื่องชื่อของเกาะกูด

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรชาวตราดถึง 12 ครั้ง และในการเสด็จนั้น ทรงเสด็จมาที่เกาะกูดถึง 2 ครั้ง คือ ในการเสด็จครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2430 และในการเสด็จประพาสเมืองตราดครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2450 ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสเกาะกูดเมื่อปี พ.ศ. 2454 และได้พระราชทานนามน้ำตกคลองเจ้าว่า "น้ำตกอนัมก๊ก" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์เชียงสือ พร้อมทั้งได้ทรงสลักพระปรมาภิไธยของพระองค์ท่านไว้บนก้อนหินซึ่งก้อนหินนี้ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ ตั้งอยู่บริเวณชั้นแรกของน้ำตกคลองเจ้าในปัจจุบัน
 

เกาะกูด นับเป็นเกาะสุดท้ายของจังหวัดตราด เพราะเป็นเกาะที่มีชายแดนน่านน้ำติดกับประเทศกัมพูชา เกาะกูดนับว่าเป็นเกาะที่ใหญ่ในจังหวัดตราด รองลงมาจากเกาะช้าง (อันดับ 2 ของจังหวัดตราด อันดับ 4 ของประเทศไทย) เนื้อที่ประมาณ 65,625 ไร่ มีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นอยู่กับจังหวัดตราด ห่างจากตัวจังหวัดตราดมาทางทิศใต้ประมาณ 82 กิโลเมตร (ห่างจากฝั่งอำเภอคลองใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ในอดีตนั้น น้อยคนนักจะได้เคยมาสัมผัสกับความงดงามทางธรรมชาติของเกาะกูด ขณะเดียวกันก็ทำให้ชื่อของเกาะกูดเป็นที่สนใจของเจ้านายชั้นสูงและนักท่องเที่ยวแนวผจญภัยที่รักธรรมชาติและชอบความท้าทาย ดังปรากฏว่า นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา เกาะกูดกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของเจ้านายชั้นสูง เมื่อประพาสชายทะเลตะวันออก มักทรงแวะประทับหลายพระองค์ ทั้งนี้ อาจเป็นผลจากความงดงามของหาดทราย และน้ำทะเลสีใสมรกตที่ได้รับการขนานนามว่า “อันดามันแห่งทะเลตะวันออก” เกาะกูด ยังมีน้ำตกหลายแห่ง โดยเฉพาะน้ำตกคลองเจ้าที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็นและปรากฏอยู่ในบันทึกการเที่ยวของชนชั้นสูงในอดีต ปรากฏเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ให้ได้เรียนรู้ในเวลาต่อมา
 

เช่ารถจากสนามบินตราดไปท่าเรือเกาะกูด
เช่ารถไปเกาะช้าง เกาะหมาก สอบถามทางไลน์ คลิกที่นี่













 
Tag : เที่ยวเกาะกูด ที่พักเกาะกูด การเดินทางไปเกาะกูด เรือไปเกาะกูด ร้านอาหารเกาะกูด ของฝากเกาะกูด ที่พักเกาะกูดราคาถูก รถทัวร์ไปเกาะกูด ตารางเรือไปเกาะกูด ร้านอาหารทะเลเกาะกูด ที่พักเกาะกูดติดทะเล เที่ยวบินกรุงเทพตราด เช่ารถจากสนามบินตราดไปท่าเรือเกาะกูด ร้านซีฟู้ดเกาะกูด ที่พักเกาะกูด Pantip เช่ารถไปเกาะกูด รอบเรือไปเกาะกูด จองเรือไปเกาะกูด ร้านกาแฟเกาะกูด ที่พักเกาะกูดติดทะเลราคาถูก ทัวร์ดำน้ำเกาะกูด



ข้อมูลเที่ยวเกาะกูด 
เรือไปเกาะกูด ที่เที่ยวบนเกาะกูด
ที่พักเกาะกูด ดำน้ำเกาะกูด การเดินทางไปเกาะกูด ร้านอาหารเกาะกูด